วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

  การบันทึกครั้งที่ 1 
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

เริ่มต้นการเรียน


^ แจกแผ่นปั๊ม ^


^ แจกคอสซีรีบัส ^

เนื้อหาที่เรียน
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


ความหมาย
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”
หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ 
2. ทางการศึกษา 
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษพัฒนาการ
• การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
• ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
• เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
• พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
• พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
• ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
• ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
• ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
• ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
• มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
• ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป 
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
• แบบทดสอบ Denver II
• Gesell Drawing Test 
• แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล

กิจกรรมส่งท้าย  แบบทดสอบ Gesell Drawing Test 
           Gesell Drawing Test เป็นการวัดไอคิวเด็กแบบง่ายๆ ลองให้เด็กวาดรูปตามแบบที่กำหนดซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือตามระดับอายุที่ควรจะเป็น



ความรู้ที่ได้รับ
       การใช้เทคนิคการพูดกับผู้ปกครองของเด็กพิเศษ การทบทวนความรู้เดิม เทคนิคการทดสอบสมองของเด็ก ความหมายในเนื้อหาที่เรียน

การนำไปใช้
       วิธีการสังเกตและเทคนิคการเรียนการสอนของเด็กพิเศษในห้องเรียน การพูดกับผู้ปกครองเด็กพิเศษจะต้องพูดอย่างระมัดระวัง มีชั้นเชิงในการพูด

ประเมิน 
ตนเอง : เรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
เพื่อน  : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
อาจารย์  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรียมการสอนมาดี มีกิจกรรมท้ายคาบ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น