Animated Rainbow Nyan Cat

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

  การบันทึกครั้งที่ 4
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


*ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง

การช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความสำคัญอย่างไร?
                     ชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้รับผลกระทบจากลักษณะความบกพร่องของตนเอง ครอบครัว สังคม และการช่วยเหลือดูแลที่ได้รับ สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่คนรอบข้างควรรับรู้คือ ระดับความต้องการความช่วยเหลือของเด็กคนหนึ่งอาจเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สำคัญของชีวิต เช่น การเข้าโรงเรียน หรือการเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น 
                      ความต้องการการศึกษาพิเศษของเด็กถือเป็นจุดที่ผู้ปกครองต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งผู้ปกครองควรเลือกพิจารณาการเรียนรู้ในลักษณะที่เหมาะสมและเอื้อต่อพัฒนาการของลูกที่สุด การให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียนปกติร่วมกับเด็กที่ไม่มีความต้องการพิเศษ อาจทำให้ลูกได้รับการดูแลอย่างดีจากคนรอบข้าง แต่ก็อาจทำให้การศึกษาของลูกดำเนินไปอย่างกระท่อนกระ แท่น เนื่องจากลูกไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดีเท่ากับเพื่อนคนอื่นๆ ดังนั้น การเลือกรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับลูก จึงถือเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องใคร่ครวญและตัดสินใจให้ดี เพราะผลลัพธ์ในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไปตามธรรมชาติของปัญหาในตัวเด็ก เด็กบางคนอาจมีสุขภาพที่ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ และอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือเด็กอีกส่วนหนึ่งก็อาจต้องแบกรับลักษณะความผิดปกติไปตลอดชีวิต เช่นในกรณีของเด็กที่เป็นโรคสมองพิการ 
                       งานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาในการศึกษาเล่าเรียนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าทักษะในการเรียน รู้ของเด็กจะพัฒนาสูงขึ้นจากช่วงวัยเด็กสู่วัยรุ่น แต่หลังจากนั้นจะค่อนข้างคงที่ แต่อาจมีบางทักษะที่สามารถพัฒนาสูงขึ้นได้ และมีเพียงบางทักษะเท่านั้นที่อาจด้อยลง ส่วนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กมักจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หากไม่แย่ลงกว่าเดิม เช่นเดียวกับความบกพร่องทางด้านสังคมของเด็ก ซึ่งจะยังคงไม่ดีขึ้นหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างไร?
                      หลังจากที่ลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีความต้องการพิเศษ พ่อแม่ ผู้ปกครองอาจมีความรู้สึกต่างๆนานา และอาจมีปฏิกิริยาต่อความจริงที่เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ อาจมีผู้ปกครองบางคนที่รู้สึกโล่งใจ เมื่อได้ทราบถึงลักษณะความผิดปกติของลูก เพื่อที่จะได้ให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ปกครองมักแสดงออกถึงความเศร้า โกรธ สับสน หรือรู้สึกผิด จนกระ ทั่งถึงจุดที่ครอบครัวสามารถยอมรับความจริงได้ และเริ่มการวางแผนสำหรับอนาคต ทั้งนี้ ไม่ว่าพ่อแม่จะรู้สึกอย่างไรต่อสภาพความผิดปกติของลูก ทั้งหมดทั้งมวลนั้นล้วนแต่เป็นความรู้สึกปกติที่ย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องให้เวลาแก่ตัวเองในการก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านั้น พร้อมกับหาหนทางในการช่วยเหลือทั้งตนเองและลูกอย่างเร่งด่วน โดยยึดหลักตามข้อเสนอแนะต่อไปนี้ 
         -เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการ (Early Intervention) ทันทีหลังจากที่ลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการหรือมีความต้อง การพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ยิ่งพ่อแม่พาลูกเข้ารับบริการเร็วเท่าใดโอกาสที่เด็กจะสามารถมีพัฒนาการได้เทียบเท่ากับเด็กทั่วไปหรือใกล้เคียงกับเด็กทั่วไปย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ พ่อแม่ยังสามารถได้รับความรู้และคำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพัฒนาการของลูก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อลักษณะความบกพร่องของลูก 
         -ศึกษาข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับลักษณะความบกพร่องของลูกให้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะยิ่งพ่อแม่รู้มาก ย่อมหมายถึงความพร้อมที่มากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังทำให้พ่อแม่มีหลักในการรับมือกับอนาคตอีกด้วย
         -เข้าร่วมกับกลุ่มช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงเป็นการทำให้พ่อแม่รู้สึกไม่โดดเดี่ยวและมีกำลังใจที่จะช่วยเหลือลูกมากยิ่งขึ้น 
         -หมั่นสังเกต ให้ความสนใจ และสนับสนุนสิ่งที่ลูกทำได้ดี พร้อมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่า ความบกพร่องของลูกไม่ได้กำหนดสิ่งที่ลูกเป็น แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตของลูก ไม่ต่างกันกับสีของตาหรือลักษณะเส้นผม 
         -พาลูกเข้ารับการรักษาที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำบัด (Occupational therapy) กาย ภาพบำบัด (Physical therapy) การแก้ไขการพูด (Speech therapy) หรือพฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy) 
         -จดบันทึกเกี่ยวกับลูก เพราะผู้ปกครองคือผู้ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด และย่อมเป็นผู้ที่รู้จักลูกมากที่สุด การจดบันทึกของพ่อแม่ นอกจากจะทำให้เห็นพัฒนาการของลูกแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงครูที่จะต้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือลูกด้วย 
         -พูดคุยกับคนในครอบครัวถึงความรู้สึกของตัวพ่อแม่เอง รวมถึงเปิดโอกาสให้คนในครอบครัวพูดถึงความรู้สึกของตน เองอย่างเปิดเผยเช่นกัน พี่หรือน้องของลูกอาจมีความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพิเศษของเด็กที่มีความบกพร่อง และอาจมีปัญหาในการอธิบายให้เพื่อนเข้าใจ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรปรับความเข้าใจของคนในครอบครัวให้ตรงกัน สร้างกิจวัตรที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่เอื้อต่อลูกที่มีความต้องการพิเศษ 
          -ส่งเสริมให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเอง (self-determination) เนื่องจากความสามารถในการตัดสินใจด้วยตัวเองถือเป็นคุณ สมบัติที่สำคัญสำหรับเด็กทุกคน โดยมีงานวิจัยระบุว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีความสามารถในการตัดสินใจสูง มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการจ้างงาน มีความพอใจในชีวิต และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องได้รับความช่วย เหลือจากครอบครัว ทั้งนี้ พ่อแม่สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของลูกได้ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก เช่น อยากใส่ชุดไหน หรืออยากรับประทานอะไร เป็นต้น ไม่ปกป้องลูกมากจนเกินไป พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกออกไปพบอะไรใหม่ๆ 
เกร็ดความรู้เพื่อครู 
             ครูจะมีบทบาทในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่โรงเรียนได้ ดังนี้ เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน เนื่องจากวิธีการที่ได้ผลในเด็กคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลในเด็กอีกคนหนึ่ง ดังนั้น ครูจึงควรรู้จักปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการและวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันของเด็กแต่ละคน ร่วมมือกับผู้ปกครอง โดยยึดหลักการปฏิบัติต่อเด็กในแนวทางเดียวกับผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองถือเป็นผู้เชี่ยว ชาญสูงสุดสำหรับลูกของตนเอง ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี เช่น หากเด็กผลักกันในแถว ครูควรชมเด็กที่นิ่งเงียบและไม่ตอบโต้ นอกจากจะเป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับเด็กแล้ว ยังเป็นการสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับเด็กอีกด้วย สนับสนุนสิ่งที่ดีต่อความรู้สึกของเด็ก เช่น หากเห็นว่าเด็กมีความสุขกับการได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ควรสนับสนุนให้เด็กทำสิ่งนั้น โดยอาจยืดเวลาให้เด็กได้ทำต่อไปแม้จะเข้าสู่เวลาเรียนแล้ว หรืออาจให้เด็กทั้งห้องได้ร่วมทำในสิ่งเดียวกันเพื่อเป็นการยืดเวลาให้เด็กไปในตัว ทำกฎให้ง่ายและยืดหยุ่น สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ครูควรช่วยเหลือให้เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎได้ดียิ่งขึ้น หากกฎดังกล่าวยากเกินไปสำหรับเด็กที่จะปฏิบัติตาม ไม่ลดละ กล่าวคือ หากเด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสม ครูควรพยายามหาหนทางในการแก้ไขพฤติกรรมเด็กให้จงได้ ทั้ง นี้เพราะการเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญสำหรับเด็กทุกคน และถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเช่นกัน หมั่นติดต่อกับผู้ปกครอง โดยอาจเขียนบันทึกพฤติกรรมของเด็กให้ผู้ปกครอง ติดต่อผ่านอีเมล์หรือโทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบสภาพของเด็กที่โรงเรียน และทำให้การช่วยเหลือเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่องระหว่างบ้านและโรงเรียน

ที่มา  http://taamkru.com/
  การบันทึกครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560

ตัวอย่างวีดีโอ

พิการแต่กำเนิด


พิการแต่กำเนิด


เนื้อหาที่เรียน











































ความรู้ที่ได้รับ
       ได้รับความรู้เกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษ ความหมาย ลักษณะ อาการ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การนำไปใช้
      ในการสอนเด็กปฐมวัยเราอาจจะต้องเจอเด็กที่มีอาการเหล่านี้สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ได้
ประเมิน 
ตนเอง : เรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน 
เพื่อน  : ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเพื่อนๆแต่งตัวถูกระเบียบ มาสายกันเป็นบางกลุ่ม
อาจารย์  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรียมการสอนมาดี มีการถามตอบ มีตัวอย่างให้ดู สอดแทรกคุณธรรมให้นักศึกษาอีกด้วย



วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560


  การบันทึกครั้งที่ 2
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

ตัวอย่างวีดีโอ



ตัวอย่างเด็กปัญญาเลิศ

Kim Ung-yong


Akrit jaswal


Elaina smith


ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี


เนื้อหาที่เรียน



       






































ความรู้ที่ได้รับ
        การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการ
พิเศษ

การนำไปใช้
      เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน 

ประเมิน 
ตนเอง : เรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
เพื่อน  : ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเพื่อนๆแต่งตัวถูกระเบียบ
อาจารย์  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรียมการสอนมาดี มีการถามตอบ มีตัวอย่างให้ดู